โรงเรียนวังกรดพิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลบ้านบุ่ง ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนตำบลบ้านบุ่ง โดยการนำของกำนันบุญช่วย รุ่งเรืองศรี อดีตกำนันตำบลบ้านบุ่งและคณะ ได้รับบริจาคที่ดิน และบริจาคเงินจากประชาชนตำบลบ้านบุ่งโดยนำเงินที่ได้รับบริจาคไปตอบแทนเจ้าของที่ดินบางส่วน โดยได้ที่ดินรวมเป็นจำนวน 36 ไร่ 2 งาน เป็นสถานที่ก่อสร้าง และเสนอเรื่องของเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนเมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2523 ใช้ชื่อว่า
"โรงเรียนวังกรดพิทยา และใช้อักษรย่อว่า ว.พ."
ปีการศึกษา 2523 ซึ่งเป็นปีการศึกษาแรกโรงเรียนได้รับอัตราครูมาสอนจำนวน 5 คน มีนายธวัช จินาพันธ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ปลายปีการศึกษาได้บรรจุนักการภารโรง 1 คน(นายเล็ก บุญเกตุ) มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 96 คน แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน และได้เริ่มเปิดสอนวันที่ 16 พฤษภาคม 2523 โดยใช้อาคารเรียนชั่วคราวที่ประชาชนร่วมมือกันปลูกสร้างขึ้นมีอาคารสิ่งปลูกสร้าง มีบ้านพักครู 1 หลัง ห้องส้วมนักเรียน 1 หลังสภาพภูมิศาสตร์ของโรงเรียนมีสภาพเป็นที่ลุ่มเพราะที่ดินที่ปลูกสิ่งก่อสร้างเดิมเป็นที่นา และได้ทำคันดินกั้นน้ำโดยรอบเพื่อป้องกันน้ำท่วม
“อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา”
บัณฑิตย่อมฝึกตน
คติพจน์
"เรียนดี มีจรรยา พลานามัยสมบูรณ์"
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
“ความรู้ คู่คุณธรรม”
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
"ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน"
วิสัยทัศน์ (Vision) โรงเรียนวังกรดพิทยา
“โรงเรียนวังกรดพิทยามุ่งพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
คติพจน์
" เรียนดี มีจรรยา พลานามัยสมบูรณ์ "
ปรัชญา
" อตฺตานํ ทมยนฺติ ปัณฺฑิตา "
พันธกิจ (Mission)
1.ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
2. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม บนฐานความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ในการเรียนรู้ การวิจัย การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
4.ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ไทยแลน์ 4.0
5.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
6.จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาสู่สังคมที่ยั่งยืน
เป้าประสงค์ (Objective)
1.ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้(3Rs8Cs) สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ และใส่ใจสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานความเป็นไทยตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.ครูมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมแลการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3.ส่งเสริมสนับสนุนนำเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้
นโยบายและกลยุทธ์โรงเรียนวังกรดพิทยา (พ.ศ.2566-2570)
นโยบายที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดำรงอยู่บนพื้นฐานความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นโยบายที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
นโยบายที่ 3 การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล่ำทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยีอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0
นโยบายที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เอื้อต่อกาเรียนรู้